สนามแข่งขัน ของ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 นัดชิงชนะเลิศ

สนามกีฬาเวมบลีย์ เป็นสนามแข่งขันในนัดชิงชนะเลิศ
ถ้วยรางวัล Henri Delaunay ที่เวมบลีย์ก่อนนัดชิงชนะเลิศ

การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศจัดขึ้นที่สนามกีฬาเวมบลีย์ในโบโรออฟเบรนต์ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ วันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ยูฟ่าประกาศว่าฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งนี้จะจัดขึ้นในหลายประเทศทั่วยุโรปเพื่อฉลองครบรอบ 60 ปีของรายการนี้ โดยจะไม่มีชาติเจ้าภาพใดผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ[5][6] เวมบลีย์ถูกเลือกเป็นสนามแข่งขันรอบรองชนะเลิศและนัดชิงชนะเลิศโดยคณะกรรมการบริหารยูฟ่าเมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2014 หลังจากที่อัลลีอันทซ์อาเรนาในมิวนิกถอนตัวจากการเสนอเป็นสนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ[7] เมื่อเวมบลีย์ได้สิทธิ์เป็นสนามแข่งขันในรอบที่ต้องการแล้ว ได้มีการถอนการเสนอให้ลอนดอนเป็นสถานที่แข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มและรอบแพ้คัดออกก่อนหน้า[8] อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริหารยูฟ่าถอดถอนบรัสเซลส์จากการเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2017 เนื่องด้วยความล่าช้าในการก่อสร้างยูโรสเตเดียม ทำให้การแข่งขันสี่นัด (รอบแบ่งกลุ่มสามนัดและรอบ 16 ทีมสุดท้ายหนี่งนัด) ที่เดิมกำหนดให้แข่งขันที่บรัสเซลส์ ถูกโยกไปแข่งขันที่ลอนดอนแทน ทำให้จะมีการแข่งขันที่เวมบลีย์ถึง 7 นัด[9] และได้เพิ่มเป็น 8 นัดในภายหลังหลังจากที่ดับลินถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2021 ด้วยเหตุผลที่ไม่มั่นใจในการรองรับผู้ชมในสถานการณ์โควิด-19 ดังนั้น การแข่งขันในรอบ 16 ทีมสุดท้ายอีกนัดจึงย้ายไปแข่งขันที่เวมบลีย์แทน[10]

สนามกีฬาเวมบลีย์แห่งปัจจุบันเปิดใช้งานใน ค.ศ. 2007 โดยสร้างขึ้นบนพื้นที่ของสนามแห่งเดิมที่ทำลายระหว่าง ค.ศ. 2002 ถึง 2003[11][12] สนามแห่งนี้มีสมาคมฟุตบอลเป็นเจ้าของและถูกใช้เป็นสนามกีฬาแห่งชาติของอังกฤษ สนามแห่งเดิมซึ่งเคยรู้จักกันในชื่อสนามกีฬาเอ็มไพร์ เปิดใช้งานใน ค.ศ. 1923 และใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1966 นัดชิงชนะเลิศที่เจ้าภาพอย่างอังกฤษเอาชนะเยอรมนีตะวันตกหลังต่อเวลาพิเศษ 4–2 เช่นเดียวกันกับฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 นัดชิงชนะเลิศที่เยอรมนีเอาชนะเช็กเกียหลังต่อเวลาพิเศษ 2–1 ด้วยกฎโกลเดนโกล เวมบลีย์ยังใช้จัดการแข่งขันเอฟเอคัพนัดชิงชนะเลิศทุกปีนับตั้งแต่ปี 1923 เป็นต้นมา (ยกเว้นปี 2001 ถึง 2006 ซึ่งเป็นช่วงที่สนามกำลังสร้างใหม่) การที่สนามเวมบลีย์ใช้จัดการแข่งขันรอบรองชนะเลิศและนัดชิงชนะเลิศเป็นประเด็นสำคัญให้ยูฟ่าและรัฐบาลสหราชอาณาจักรทำข้อตกลงเกี่ยวกับการยกเว้นการกักตัวสำหรับแฟนบอลและบุคคลสำคัญ ปุชกาชออเรนอในบูดาเปสต์ถูกเสนอให้เป็นสนามในนัดชิงชนะเลิศแทน แต่ยูฟ่ายังคงให้เวมบลีย์เป็นสนามในนัดชิงชนะเลิศเหมือนเดิม[13] วันที่ 22 มิถุนายน รัฐบาลอังกฤษปรับโควตาให้ผู้ชมเข้าสนามได้ร้อยละ 75 ของความจุทั้งหมด นั่นหมายความว่าจะมีผู้ชมในสนามถึง 60,000 คน เพื่อเป็นการพิสูจน์มีการฉีดวัคซีนในประเทศอย่างสมบูรณ์[14] แฟนบอลจากอิตาลีได้รับสิทธิ์เข้าชมเกม 1,000 ที่นั่ง โดยทุกคนต้องได้รับการตรวจโควิด-19 ก่อนเข้าประเทศ และต้องอยู่ในประเทศไม่เกิน 12 ชั่วโมงพร้อมเดินทางไปยังสนามตามรูปแบบที่กำหนดไว้[15]

ใกล้เคียง

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 รอบคัดเลือก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 นัดชิงชนะเลิศ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบคัดเลือก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบแพ้คัดออก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบแพ้คัดออก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 นัดชิงชนะเลิศ http://origin1904-p.cxm.fifa.com/fifa-world-rankin... http://www.rsssf.com/tablesi/ital-intres.html http://www.uefa.com/newsfiles/euro/2020/2024491_fr... http://www.uefa.com/newsfiles/euro/2020/2024491_lu... //www.worldcat.org/issn/0140-0460 http://news.bbc.co.uk/1/hi/england/2735143.stm http://news.bbc.co.uk/sport1/hi/football/world_cup... https://www.11v11.com/teams/england/tab/opposingTe... https://www.aljazeera.com/sports/2021/7/11/euro-20... https://apnews.com/article/euro-2020-sports-health...